โปรแกรมพิมพ์ป้ายพวงหรีด

แนะนำการใช้งานโปรแกรมพิมพ์ป้ายพวงหรีด

หลังจากติดตั้งโปรแกรมแล้ว เปิดโปรแกรมขึ้นมาจะแสดงหน้าตาดังนี้

หน้าแรกของโปรแกรมหลังจากติดตั้ง หากยังไม่มีสิทธิ์การใช้งาน

โปรแกรมรุ่นทดลอง จะแสดงข้อความว่าสิทธิ์การใช้งานยังไม่ถูกต้อง หากต้องการใช้งานจริงให้คลิกตรง ข้อมูลติดต่อ จะแสดงรายละเอียดช่องทางในการติดต่อกับผู้พัฒนาและจำหน่ายโปรแกรม โปรแกรมรุ่นทดลอง สามารถทดสอบฟังก์ชั่นการใช้งานได้ทุกอย่าง ยกเว้นเพียงบันทึกข้อมูล และพิมพ์ไม่ได้

 

หน้าจอของโปรแกรมจะแบ่งเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้

  1. เมนูหลัก มี File และ Edit
  2. ปุ่มการทำงานหลัก
  3. คุณสมบัติของป้าย คุณสมบัติของข้อความ คุณสมบัติของรูปภาพ และคุณสมบัติของเส้นหรือสี่เหลี่ยม
  4. พื้นที่ป้าย สำหรับการวางข้อความ รูปภาพ กรอบ และเส้นหรือสี่เหลี่ยม

 

แสดง ปุ่มทำงานหลักของโปรแกรม และ ส่วนคุณสมบัติของป้าย

 

เมนูหลัก

เมนู File ประกอบด้วยฟังก์ชั่นดังนี้

  • สร้าง จะแสดงรายชื่อ “รายการต้นแบบป้าย” ให้เลือกเพื่อสร้างป้ายตามต้นแบบ
  • แก้ไข จะแสดงรายการข้อมูลป้ายที่เคยบันทึกไว้ เมื่อเลือกรายการใด ด้านขวาจะแสดงหน้าตัวอย่างป้ายของป้ายนั้น หากกดปุ่ม ตกลง ก็จะเปิดข้อมูลป้ายนั้นมาแสดงบนหน้าจอหลัก เป็นการเปิดป้ายเดิมเพื่อทำการแก้ไข หรือทำการพิมพ์
  • บันทึก จะเก็บบันทึกข้อมูลป้าย หากมีข้อมูลเดิม ข้อมูลเดิมจะถูกแทนที่ด้วยข้อมูลป้ายปัจจุบันบนหน้าจอ
  • บันทึกใหม่ จะเก็บบันทึกข้อมูลป้ายบนหน้าจอ โดยจะเป็นการสร้างรายการใหม่เสมอ
  • บันทึกเป็นต้นแบบ จะเก็บบันทึกข้อมูลป้ายบนหน้าจอ เป็นข้อมูลต้นแบบ ซึ่งต้นแบบที่บันทึกนี้จะไปปรากฏในหน้าจอ “สร้างป้ายใหม่” เพื่อให้เลือกสำหรับการสร้างป้ายใหม่
  • พิมพ์ พิมพ์ป้ายปัจจุบันที่แสดงอยู่บนหน้าจอ หากมีติ๊ก “ตัวอย่างก่อนพิมพ์” ป้ายที่พิมพ์จะแสดงบนหน้าจอตัวอย่างก่อนพิมพ์ หากไม่ได้ติ๊กไว้ ข้อมูลป้ายจะถูกส่งไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ทันที
  • ออกจากโปรแกรม ปิดโปรแกรมพิมพ์ป้าย
  • เกี่ยวกับ แสดงหน้าจอข้อมูลผู้พัฒนาโปรแกรม และข้อมูลติดต่อผู้พัฒนาโปรแกรม
  • สิทธิ์การใช้งาน แสดงหน้าจอข้อมูล “สิทธิ์การใช้งาน” ของโปรแกรมพิมพ์ป้ายนี้

 

เมนู File

 

เมนู Edit ประกอบด้วยฟังก์ชั่นดังนี้

  • ข้อความ สร้างข้อความใหม่บนป้าย แต่ละข้อความที่สร้างจะเป็นอิสระต่อกัน สามารถปรับแต่งคุณสมบัติต่าง และจัดวางได้ทุกที่บนป้ายด้วยการลากเม้าส์
  • รูปภาพ เลือกรูปภาพที่จะนำมาวางบนป้าย
  • รูปภาพจากคลัง เลือกรูปภาพจาก “คลังภาพ” ในโปรแกรม เพื่อนำมาวางบนป้าย (จัดการรูปภาพในคลังภาพด้วยเมนู “จัดการรูป”)
  • เส้นตรง สร้างเส้นตรงบนป้าย
  • สี่เหลี่ยม สร้างเส้นสี่เหลี่ยมบนป้าย
  • จัดการรูปภาพ แสดงหน้าจอในการจัดการรูปภาพทั้งหมดในโปรแกรม หรือ “คลังภาพ”
  • จัดการฟอนต์ แสดงหน้าจอจัดการฟอนต์ต่างๆ ที่ใช้ในโปรแกรม
  • จัดการกรอบ แสดงหน้าจอจัดการกรอบต่างๆ ที่ใช้ในโปรแกรม

 

เมนู Edit

 

ปุ่มการทำงานหลัก

จะมีการทำงานเดียวกับในเมนู File และ Edit ที่มีเพิ่มเติมจากเมนูคือ

  • ย่อ / ขยาย  ทำการย่อ หรือ ขยาย ขนาดของป้ายที่แสดงบนหน้าจอ เพื่อความสะดวกในการจัดวางวัตถุต่างๆ บนป้าย
  • ตัวอย่างก่อนพิมพ์ หากติ๊กตรงนี้ ตอนสั่งพิมพ์ จะแสดงหน้าจอตัวอย่างของป้ายก่อนที่จะส่งไปเครื่องพิมพ์ให้ดูก่อน แต่ถ้าไม่ติ๊ก เมื่อสั่งพิมพ์ ข้อมูลป้ายจะถูกส่งไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ทันที

 

ปุ่มการทำงานหลักของป้าย

 

คุณสมบัติของวัตถุต่างๆ

วัตถุต่างๆ ในโปรแกรมจะประกอบไปด้วย ป้าย ข้อความ รูปภาพ เส้นตรง และ สี่เหลี่ยม หากเราคลิกตรงวัตถุใดๆ ด้านบนของโปรแกรมจะแสดงข้อมูลคุณสมบัติต่างๆ ของวัตถุนั้นๆ หากคลิกตรงพื้นที่ว่างใดๆ จะหมายถึงการคลิกป้าย ด้านบนจะแสดงคุณสมบัติของป้าย

พื้นที่ในส่วนที่แสดงคุณสมบัติของวัตถุ สามารถปรับแต่ง แก้ไข คุณสมบัติของวัตถุนั้นๆ ได้

 

คุณสมบัติของป้าย

คุณสมบัติของป้าย

จากรูปจะแบ่งออกเป็น 4 ช่อง

ช่อง 1

  • เครื่องพิมพ์ แสดงรายชื่อเครื่องพิมพ์ที่มีใน Windows ให้เลือกเครื่องพิมพ์ที่เราต้องการพิมพ์
  • ขนาดกระดาษ แสดงรายชื่อขนาดกระดาษต่างๆ ให้เลือกขนาดกระดาษที่เราต้องการพิมพ์ป้าย

ช่อง 2

  • ใช้ขนาดกระดาษจากเครื่องพิมพ์เป็นหลัก ปกติช่องนี้จะถูกติ๊กเสมอ หลังจากเลือกขนาดกระดาษแล้ว หากเครื่องพิมพ์ที่เราเลือก รองรับความยาวของกระดาษที่พิมพ์ได้ ช่องนี้ก็จะปล่อยให้ติ๊กไว้ และช่อง “ขนาดกระดาษ” ถัดไป ก็จะถูกปิดไว้ไม่ให้แก้ไข
  • ขนาดกระดาษ ช่องนี้จะเปิดให้เลือก ก็ต่อเมื่อมีการเอาติ๊กตรง “ใช้ขนาดกระดาษจากเครื่องพิมพ์เป็นหลัก” ออก ความหมายของ ขนาดกระดาษ ช่องนี้คือ ขนาดกระดาษของป้ายจริงที่เราต้องการพิมพ์ ความตั้งใจในการออกแบบตรงจุดนี้ เพื่อรองรับเครื่องพิมพ์ Canon ซึ่งมีความสามารถในการพิมพ์กระดาษได้ยาวสุด 26.61 นิ้ว แต่กระดาษที่ต้องการพิมพ์จริงมีขนาดยาวมากกว่า เช่น 31 นิ้ว รายละเอียดเรื่องของขนาดกระดาษจะอธิบายแยกต่างหาก
  • ต่อกระดาษ กำหนดค่าได้ทั้ง แนวตั้ง และ แนวนอน เป็นการเพิ่มพื้นที่ของป้ายให้ใหญ่ขึ้นในลักษณะที่พิมพ์ออกมาหลายแผ่น และนำแผ่นที่พิมพ์ได้มาต่อกัน ตามแนวตั้ง และแนวนอนที่กำหนดไว้ เช่น เลือกขนาดกระดาษเป็น A4 และต่อกระดาษเป็น 2 x 2 จะพิมพ์ออกมาสีแผ่น นำมาต่อกันในแนวตั้ง 2 แผ่นและแนวนอน 2 แผ่น หรือเราจะเลือกขนาดกระดาษเป็นแบบกำหนดเอง เช่น 6 x 31 นิ้ว และต่อกระดาษเป็น 2 x 3 ก็จะพิมพ์ป้ายขนาด 6 x 31 นิ้ว ออกมา 6 แผ่น นำมาต่อกันในแนวนอน 3 แผ่น ได้ 2 ชุด และต่อ 2 ชุดนี้ในแนวตั้ง

ช่อง 3

  • กรอบ ปุ่ม “..” เมื่อคลิก จะแสดงหน้าจอในการจัดการกรอบของโปรแกรม รายละเอียดให้ดูเพิ่มเติมในส่วนของจัดการกรอบ
  • ชุดกรอบ กรอบในโปรแกรมจะสร้างโดยกำหนดเป็นชุดไว้ เมื่อเลือกชุดกรอบใดๆ รายการกรอบที่มีให้เลือกก็จะเปลี่ยนไปตามชุดนั้นๆ
  • เลือกกรอบ จะแสดงรายการกรอบทั้งหมดของชุดกรอบปัจจุบัน ให้เลือก เมื่อเลือกรายการกรอบใด กรอบนั้นก็จะแสดงบนป้ายทันที หากไม่ต้องการแสดงกรอบใดๆ ให้เลือก กรอบว่าง (รายการแรก)

ช่อง 4

  • ขาวดำ / สี เลือกลักษณะสีของป้าย ถ้าเลือก “ขาวดำ” สีของข้อความจะเป็นสีดำ และสีพื้นจะเป็นสีขาว เสมอ ถ้าเลือกเป็น “สี” ก็จะสามารถเปลี่ยนสีของข้อความ และสีพื้นของป้าย หรือสีของวัตถุต่างๆ ได้ตามต้องการ
  • สลับสีพื้น จะสลับสีขาวเป็นดำ และดำเป็นขาว หากป้ายเป็นลักษณะสี สีที่สลับก็จะเป็นสีที่คู่กัน เช่น สีแดง คู่กับ สีคราม, สีเขียว คู่กับ สีชมพู
  • สีพื้น เปลี่ยนสีพื้นของป้ายได้ ค่าโดยปกติจะเป็น โปร่งใส (Transparent) หากเลือกสีอื่น ช่องถัดไป ก็จะสามารถกำหนดความโปร่งใส/ทึบ ของสีได้เช่นกัน โดยกำหนดค่าได้ 0 – 100
  • สีกรอบ เปลี่ยนสีของกรอบได้ เมื่อคลิกจะแสดงสีให้เลือก ช่องตัวเลขถัดไป จะกำหนดค่าได้ 0 – 100 เป็นการกำหนดความโปร่งของสี, ค่า 0 คือ โปร่งใส ค่า 100 คือ สีทึบ ใช้เพื่อลดความเข้มของสีได้

 

คุณสมบัติของข้อความ

คุณสมบัติของข้อความ กรณีเลือกการปรับขนาดอักษรแบบปกติ

จากรูปจะแบ่งออกเป็น 4 ช่อง

ช่อง 1

  • ข้อความ พิมพ์ข้อความที่ต้องการแสดงบนป้าย
  • แบบอักษร เลือกแบบอักษรต่างๆ ได้ โดยรายชื่อแบบอักษรที่แสดงให้เลือก เราสามารถแก้ไขได้ โดยกดปุ่ม “…” หรือ กดเมนู Edit แล้วเลือกรายการ “จัดการฟอนต์”
  • ขนาด ระบุ หรือ กำหนดขนาดของอักษรได้ หรือ กดปุ่ม “ลดลง” หรือ “เพิ่มขึ้น” ได้

ช่อง 2

  • สีอักษร เปลี่ยนสีของอักษรได้ เมื่อคลิกจะแสดงสีให้เลือก ช่องตัวเลขถัดไป จะกำหนดค่าได้ 0 – 100 เป็นการกำหนดความโปร่งของสี, ค่า 0 คือ โปร่งใส ค่า 100 คือ สีทึบ ใช้เพื่อลดความเข้มของสีได้
  • รูปแบบ กำหนดรูปแบบอักษรได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวหนา ตัวเอียง ขีดฆ่า ขีดเส้นใต้ หรือผสมกัน
  • หมุน เลือกหมุนข้อความได้ 4 แบบคือ 0, 90, 180 และ 270 องศา หรือจะกดปุ่ม หมุนซ้าย หมุนขวา ได้คลิกละ 90 องศา

ช่อง 3

  • แสดงเต็มพื้นที่ หากติ๊กตรงนี้ วิธีการปรับขนาดอักษร จะเปลี่ยนไปเป็นอีกแบบ คุณสมบัติบางประการของข้อความจะถูกปิดไม่ให้แก้ไข การปรับขนาดอักษรในวิธี “แสดงเต็มพื้นที่” จะทำเพียง ย่อ หรือ ขยาย ขนาดของกล่องข้อความ (สี่เหลี่ยมสีเหลืองเวลาเราคลิกเลือกข้อความ) ให้ใหญ่ขึ้นหรือเล็กลง ข้อความที่อยู่ในกล่องข้อความ ก็จะถูกย่อ หรือขยายตามขนาดของกล่องข้อความ วิธีนี้จะทำให้การปรับขนาดของอักษรให้ใหญ่มากๆ จะทำได้สะดวกขึ้น
  • ช่วยปรับขนาดให้ หากติ๊กตรงนี้ ขนาดของอักษร จะถูกปรับให้พอเหมาะกับ ขนาดของกล่องข้อความ
  • บีบ ผอม/อ้วน ในกรณที่ข้อความมีความยาวมาก การเพิ่มขนาดอักษรให้ใหญ่ขึ้น จะทำให้ข้อความกว้างขึ้นจนล้นป้าย เราสามารถปรับค่าตรงนี้ให้ข้อความผอมลงได้ หรือในกรณีที่ข้อความมีความยาวน้อยมาก เราก็สามารถปรับให้ข้อความกระจายออกหรืออ้วนขึ้นได้ ทำให้สามารถแสดงข้อความสามารถได้บนเนื้อที่ที่เราต้องการ

ช่อง 4

  • โค้ง ถ้าติ๊กเลือก จะทำให้แสดงข้อความในแบบโค้งได้ โดยปรับค่าความโค้งของข้อความได้ ด้วยการเพิ่มหรือลด จำนวนในช่องถัดไป ค่ายิ่งมากข้อความก็จะโค้งมาก ถ้าค่าเป็นบวกข้อความจะโค้งขึ้นด้านบน ถ้าค่าเป็นลบข้อความจะโค้งลงด้านล่าง ข้อความโค้งจะเหมาะกับลายกรอบในลักษณะโค้งคล้ายริบบิ้น

 

คุณสมบัติของข้อความ กรณีเอาติ๊ก แสดงเต็มพื้นที่ ออก แสดงส่วนควบคุมการปรับขนาดอักษร

 

หากเราเลือกวิธีการปรับขนาดอักษรเป็นแบบ “แสดงเต็มพื้นที่” ดังรูปถัดไป คุณสมบัติบางประการของข้อความจะถูกปิดไว้ไม่ให้แก้ไข เนื่องจากวิธีการปรับขนาดอักษรวิธีนี้ จะลดความยุ่งยากในการปรับขนาดลง

คุณสมบัติของข้อความ กรณีเลือกปรับขนาด แบบแสดงเต็มพื้นที่

 

คลิกตรงข้อความใดๆ ด้านบนจะแสดงคุณสมบัติของป้าย

 

ตัวอย่างข้อความโค้ง และลายกรอบแบบริบบิ้น

หากเราคลิกขวาบนข้อความใดๆ จะมีเมนู “จัดการข้อความ” ของข้อความนั้นแสดงออกมา โดยมีรายการให้เลือกดังนี้

  • เลื่อนมาหน้าสุด ทำให้ข้อความนี้แสดงอยู่บนสุดของป้าย เหนือวัตถุอื่นๆ ในป้าย
  • เลื่อนไปหลังสุด ทำให้ข้อความนี้แสดงอยู่ล่างสุดของป้าย ใต้วัตถุอื่นๆ ในป้าย
  • ลบ ลบข้อความนี้ทิ้ง
  • สร้างซ้ำ สร้างข้อความใหม่ โดยมีคุณสมบัติเหมือนกับข้อความนี้
เมนูจัดการข้อความ

 

คุณสมบัติของรูปภาพ

คุณสมบัติของรูปภาพ
ตัวอย่าง รูปภาพ
  • รักษาอัตราส่วนของขนาด หากติ๊กไว้ เวลาย่อ หรือขยาย รูปภาพ สัดส่วนของรูปภาพ กว้าง x สูง จะคงเดิมเสมอ ทำให้รูปภาพดู
  • หมุน เลือกหมุนรูปได้ 4 แบบคือ 0, 90, 180 และ 270 องศา หรือจะกดปุ่ม หมุนซ้าย หมุนขวา ได้คลิกละ 90 องศา

 

คุณสมบัติของเส้นตรง

คุณสมบัติของเส้นตรง
ตัวอย่าง เส้นตรง
  • สีเส้น เปลี่ยนสีของเส้นได้ เมื่อคลิกจะแสดงสีให้เลือก ช่องตัวเลขถัดไป จะกำหนดค่าได้ 0 – 100 เป็นการกำหนดความโปร่งของสี, ค่า 0 คือ โปร่งใส ค่า 100 คือ สีทึบ ใช้เพื่อลดความเข้มของสีได้
  • ขนาดเส้น กำหนดขนาดของเส้น หน่วยเป็นนิ้ว
  • สลับสี ขาว/ดำ จะสลับสีเส้นและสีพื้นจากดำเป็นขาว และขาวเป็นดำ มีผลกรณีป้ายถูกกำหนดให้เป็นลักษณะขาวดำเท่านั้น
  • ลายเส้น เลือกรูปแบบของลายเส้นได้
  • สลับด้าน สลับด้านของลายเส้น มีผลกับบางรูปแบบลายเส้น

 

คุณสมบัติของสี่เหลี่ยม

คุณสมบัติของสี่เหลี่ยม
ตัวอย่าง สี่เหลี่ยม
  • สีเส้น เปลี่ยนสีของเส้นได้ เมื่อคลิกจะแสดงสีให้เลือก ช่องตัวเลขถัดไป จะกำหนดค่าได้ 0 – 100 เป็นการกำหนดความโปร่งของสี, ค่า 0 คือ โปร่งใส ค่า 100 คือ สีทึบ ใช้เพื่อลดความเข้มของสีได้
  • สีพื้น เปลี่ยนสีพื้นของสี่เหลี่ยม ค่าโดยปกติจะเป็น โปร่งใส (Transparent) หากเลือกสีอื่น ช่องถัดไป ก็จะสามารถกำหนดความโปร่งใส/ทึบ ของสีได้เช่นกัน โดยกำหนดค่าได้ 0 – 100
  • ขนาดเส้น กำหนดขนาดของเส้น หน่วยเป็นนิ้ว
  • ขนาดมุม กำหนดขนาดของมุมทั้ง 4 ของสี่เหลียม มุมของสี่เหลี่ยมจะมนโค้งตามขนาดที่เพิ่มขึ้น
  • สลับสี ขาว/ดำ จะสลับสีเส้นและสีพื้นจากดำเป็นขาว และขาวเป็นดำ มีผลกรณีป้ายถูกกำหนดให้เป็นลักษณะขาวดำเท่านั้น

 

Hits: 6324